เมนู

ปัญญาวรรค อภิสมยกถา


ว่าด้วยความตรัสรู้


[695] คำว่า ความตรัสรู้ ความว่า ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร ย่อม
ตรัสรู้ด้วยจิต ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีญาณก็ตรัสรู้ได้ซิ
บุคคลผู้ไม่มีญาณตรัสรู้ไม่ได้ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยญาณ ย่อมตรัสรู้ด้วยญาณหรือ
ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ได้ซิ บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ไม่ได้ ย่อม
ตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น ก็
ตรัสรู้ได้ด้วยกามาวจรจิตและญาณซิ ย่อมตรัสรู้ด้วยกามาวจรจิตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณ
ไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยอรูปาว-
จรจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณซิ ตรัส
รู้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยสัจจานุโลมิกจิต
และญาณซิ ตรัสรู้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้
ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่าง
นั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและ
ญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณซิ ตรัสรู้ด้วย
จิตที่เป็นปัจจุบันและญาณไม่ได้ (แต่) ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณ
ในขณะโลกุตรมรรค.
[696] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตร-
มรรคอย่างไร ?
ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่

ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มี
นิโรธเป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่ง
โลกุตรมรรคอย่างนี้.
[697] ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ?
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโลกุตรมรรค ความตรัสรู้ด้วยความเห็น
เป็นสัมมาทิฏฐิ ความตรัสรู้ด้วยความดำริเป็นสัมมาสังกัปปะ ความตรัสรู้ด้วย
ความกำหนดเป็นสัมมาวาจา ความตรัสรู้ด้วยความเป็นสมุฏฐานเป็นสัมมากัมมัน-
ตะ ความตรัสรู้ด้วยความขาวผ่องเป็นสัมมาอาชีวะ ความตรัสรู้ด้วยความตั้งสติ
มั่นเป็นสัมมาสติ ความตรัสรู้ด้วยความไม้ฟุ้งซ่านเป็นสัมมาสมาธิ ความตรัสรู้
ด้วยความตั้งสติมั่น เป็นสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ความตรัสรู้ด้วยการพิจารณาหา
ทางเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้
ไม่มีศรัทธาเป็นสัทธาพละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน
เป็นวิริยะพละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวในความประมาท เป็นสติ
พละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะเป็นสมาธิพละ ความตรัสรู้
ด้วยความไม่หวั่นไหวในอวิชชา เป็นปัญญาพละ ความตรัสรู้ด้วยความน้อมใจ
เชื่อเป็นสัทธินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความประคองไว้ เป็นวิริยินทรีย์ ความ
ตรัสรู้ด้วยความตั้งสติมั่นเป็นสตินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความไม่ฟุ้งซ่านเป็น
สมาธินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความเห็นเป็นปัญญินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยอินทรีย์
ด้วยความว่าเป็นใหญ่ ความตรัสรู้ด้วยพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว ความตรัส
รู้ด้วยโพชฌงค์ด้วยความว่านำออก ความตรัสรู้ด้วยมรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ
ความตรัสรู้ด้วยสติปัฏฐานด้วยความว่าตั้งสติมั่น ความตรัสรู้ ด้วยสัมมัปปธาน
ด้วยความว่าตั้งไว้ ความตรัสรู้ด้วยอิทธิบาทด้วยความว่าให้สำเร็จ ความตรัสรู้

สัจจะด้วยความว่าเป็นของแท้ ความตรัสรู้ด้วยสมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ความตรัสรู้ด้วยวิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณาเห็น ความตรัสรู้ด้วยสมถะและ
วิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ความตรัสรู้ด้วยธรรมคู่กันด้วยความ
ว่าไม่ล่วงเกินกัน ศีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม เป็นความตรัสรู้ จิตตวิสุทธิด้วย
ความว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความตรัสรู้ ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็นเป็นความตรัสรู้
ความตรัสรู้ด้วยอธิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น ความตรัสรู้ด้วยวิชชาด้วยความ
ว่าแทงตลอด วิมุตติด้วยความว่าบริจาค เป็นความตรัสรู้ ญาณในความสิ้นไป
ด้วยความว่าตัดขาด เป็นความตรัสรู้ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความเป็นมูล
เหตุ มนสิการเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นความตรัสรู้
ด้วยความว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่ประชุม สมาธิ
เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นประธาน สติเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็น
ใหญ่ ปัญญาเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ วิมุตติ
เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นสารธรรม นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นความ
ตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด.
[698] ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ?
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโสดาปัตติมรรค ความตรัสรู้ด้วย
ความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลง ในอมตะ เป็นความตรัสรู้
ด้วยความว่าเป็นที่สุด.
ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ?
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโสดาปัตติผล ความตรัสรู้ด้วยความ
เห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เป็นความตรัสรู้
ด้วยความว่าระงับ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นมูลเหตุ ฯลฯ นิพพาน
อันหยั่งลงในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด.

ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ?
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะสกทาคามิ
ผล ในขณะอนาคามิมรรค ในขณะอนาคามิผล ในขณะอรหัตมรรค ในขณะ
อรหัตผล ความตรัสรู้ด้วยความเห็น เป็นสัมมาทิฏฐิ ความตรัสรู้ด้วยความดำริ
เป็นสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้นเป็นความตรัสรู้
ด้วยความว่าระงับ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นมูลเหตุ ฯลฯ นิพพาน
อันหยั่งลงในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด บุคคลนี้นั้นย่อมละ
ได้ซึ่งกิเลสทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน.
[699] คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีต ความว่า บุคคล
ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นไป
แล้วให้สิ้นไป ทำกิเลสที่ดับไปแล้วให้ดับไป ทำกิเลสที่ปราศไปแล้วให้ปราศ
ไป ทำกิเลสที่หมดแล้วให้หมดไป ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตอันไม่มีอยู่
เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่.
คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคต ความว่า บุคคลย่อมละ
ได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด
ละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ละกิเลสที่ไม่เกิดขึ้นแล้ว ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละได้
ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคตอันไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็น
อนาคตหาได้ไม่.
คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบัน ความว่า บุคคลย่อมละ
ได้ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบันหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้ ผู้ขัด
เคืองก็ละโทสะได้ ผู้หลงก็ละโมหะได้ ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้ ผู้ถือผิด
ก็ละทิฏฐิได้ ผู้ถึงความฟุ้งซ่านก็ละอุทธัจจะได้ ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้
ผู้มีกิเลสเรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้ ธรรมฝ่ายคำและธรรมฝ่ายขาวซึ่งเป็นคู่กันกำลัง
เป็นไป มรรคภาวนาอันมีความหม่นหมองด้วยกิเลสนั้น. ก็มีอยู่ เพราะเหตุนั้น
บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต กิเลสที่เป็นปัจจุบัน หาได้ไม่.

[700] บุคคลย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นอนาคต
หาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันหาได้ไม่หรือ ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็
ไม่มี การทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี.
หามิได้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมี
อยู่ ธรรมาภิสมัยมีอยู่ เหมือนอะไร ? เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผลบุรุษ
พึงตัดต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิด
ก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ
เลยฉันใด ความเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย
จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้ว จึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น
เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น กิเลส
เหล่าใดพึงบังเกิด เพราะความเกิดขึ้นเป็นปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็
ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่
ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะเหตุแห่งความเป็นไป เพราะเหตุแห่งสังขารเป็นนิมิต
เพราะเหตุแห่งกรรมเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษ
ในกรรมแล้วจึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีกรรม เพราะความที่จิตเป็นธรรม-
ชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีกรรม กิเลสเหล่าใดพึงบังเกิดเพราะกรรมเป็น
ปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่
ยังไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย เพราะเหตุดับ
ทุกข์ก็ดับด้วยประการฉะนี้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การ
ละกิเลสมีอยู่ ธรรมาภิสมัยมีอยู่ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอภิสมยกถา

อรรถกถาอภิสมยกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังมิได้พรรณาแห่งอภิสมยกถาอันพระสารี-
บุตรเถระผู้แสดงอภิสมัยอันเป็นฤทธิ์อย่างยิ่งในลำดับแห่งอิทธิกถากล่าวแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิสมโย ความตรัสรู้ คือถึงพร้อมด้วยธรรม
เป็นประธานแห่งสัจจะทั้งหลาย อธิบายว่าแทงตลอด อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ความตรัสรู้อรรถ. บทว่า เกน อภิสเมติ ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร ท่านอธิบาย
ไว้อย่างไร ท่านกล่าวความตรัสรู้ว่า ความตรัสรู้เป็นรสนั้นใดในบทแห่งสูตร
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้แล
เมื่อความตรัสรู้นั้นเป็นไปอยู่ บุคคลผู้ตรัสรู้ย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยธรรมอะไรเป็นผู้
มีธรรมเป็นประธาน ย่อมถึงพร้อมอธิบายว่าแทงตลอดนี้เป็นคำถามของผู้ท้วง
ก่อน. บทว่า จิตฺเตน อภิสเมติ ย่อมตรัสรู้ด้วยจิต คือแก้อย่างนั้นเพราะ
เว้นจิตเสียแล้วไม่มีความตรัสรู้. บทมีอาทิว่า หญฺจิ เป็นการท้วงอีก หญฺจิ
แปลว่า ถ้าว่า. เพราะท่านกล่าวว่า ด้วยจิตผู้ท้วงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นบุคคลผู้ไม่มี
ญาณก็ตรัสรู้ได้ซิ. บทว่า น อญฺญาณี อภิสเมติ บุคคลไม่มีญาณตรัสรู้ไม่ได้
คือปฏิเสธเพราะไม่มีความตรัสรู้โดยเพียงจิตเท่านั้น. บทว่า ญาเณน อภิสเมติ
ย่อมตรัสรู้ด้วยญานเป็นการรับรอง. บทมีอาทิว่า หญฺจิ อีกครั้งเป็นการท้วงว่า
ผู้ไม่มีความรู้ ย่อมตรัสรู้เพราะไม่มีจิตได้ซิเพราะท่านกล่าวว่า ญาเณน ด้วย
ญาณ. บทว่า น อจิตฺตโก อภิเสเมติ บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ไม่ได้ เป็น
การปฏิเสธเพราะผู้ไม่มีจิตตรัสรู้ไม่ได้. บทมีอาทิว่า จิตฺเตน จ เป็นการรับรอง.
บทมีอาทิว่า หญฺจิ อีกครั้งเป็นการท้วงอำนาจทั่วไปแห่งจิตและญาณทั้งหมด.
แม้ในการท้วงและการแก้ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.